วันศุกร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2555

วิหารพาเธนอน


บทนำ

ตามตำนานกรีกเล่าว่า ที่มาของชื่อเมืองเอเธนส์ (Athens) นั้น มาจากการที่ชาวกรีกจะตั้งชื่อเมืองแต่ไม่รู้จะใช้ชื่ออะไร โพไซดอน เทพแห่งมหาสมุทร ผู้มีศักดิ์เป็นลุงของอธีนา ใช้ตรีศูลอาวุธของตนสร้างม้าขึ้นมา(บ้างก็ว่าสร้างน้ำพุขึ้น) ชาวเมืองต่างพากันชื่นชมม้าเป็นอันมาก แต่เทพีอธีนาได้เนรมิตต้นมะกอกขึ้นมา ซึ่งสามารถใช้ผลเป็นประโยชน์ได้ นอกจากนี้ มะกอก ยังเป็นสัญลักษณ์ของสันติภาพ ในขณะที่ม้าเป็นสัญลักษณ์ของสงคราม ชาวเมืองจึงตกลงใช้ชื่อเมืองว่า เอเธนส์ ตามชื่อของพระนาง และมะกอกก็กลายเป็นผลไม้เศรษฐกิจสำคัญอันดับหนึ่งของกรีซมาจนปัจจุบัน
อาจกล่าวได้ว่า อธีนา เป็นเทพที่ชาวกรีกให้ความนับถือมากที่สุดก็ว่าได้ ในสมัยโบราณมีการสร้างมหาวิหารเพื่อถวายแด่พระนาง คือ วิหารพาเธนอน ซึ่งตั้งอยู่ที่เนินอะโครโปลิส ที่กรุงเอเธนส์ในปัจจุบัน ในการท่องเที่ยวของกรีซ จะพบรูปปั้นขนาดเล็กของอธีนาขายเป็นที่ระลึกอยู่ทั่วไป ในวัฒนธรรมสมัยนิยมก็ถูกอ้างถึงในการ์ตูนญี่ปุ่นเป็นต้น เช่น เรื่อง เซนต์เซย่า เมื่ออธีนาได้จุติลงมาเป็นเด็กผู้หญิงที่ชื่อ คิโด ซาโอริ ทำหน้าปกป้องโลกจากเทพองค์อื่น ๆ ที่มีความปรารถนาจะครองโลก ซึ่งเป็นตัวเอกฝ่ายหญิงของการ์ตูนเรื่องนี้ทีเดียว



วิหารพาร์เธนอนเป็นวิหารที่ถูกสร้างขึ้นโดยสร้างตามการริเริ่มของเพริเคิล ผู้นำกรุงเอเธนส์ในสมัยนั้น และสร้างโดยมีประติมากรฟีเดียสเป็นผู้ควบคุมงาน การก่อสร้างเริ่มขึ้นเมื่อ 447 ปีก่อนคริสต์ศักราช ถึงแม้ว่าการก่อสร้างจะเสร็จสมบูรณ์เมื่อ 438 ปีก่อนคริสต์ศักราชแล้วก็ตาม แต่ก็ยังมีการตกแต่งเพิ่มเติมอีก 5 ปี เพื่ออุทิศแด่เทพีอาธีนาซึ่ง ซึ่งเป็น เทพีประจำเมืองเอเธนส์แต่ไหนแต่ไรมา คำว่า พาร์เธนอนแปลว่าห้องแห่งเทพีพหรมจารี (Hall of the virgin goddess) วิหารโบราณแห่งนี้มีความเก่าแก่มากกว่า 2,600 ปี ตั้งอยู่อะโครโปลิส (แปลว่าจุดสูงสุดของเมือง) ใจกลางกรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ ซึ่งแม้ว่าวิหารพาร์เธอนอนจะเหลือเพียงแต่ซากปรักหักพัง แต่เราก็ยังสามารถที่จะจินตนาการถึงความยิ่งใหญ่ในอดีตได้เป็นอย่างดี

                เนินอะโครโปลิสที่เป็นที่ตั้งของวิหารพาร์เธนอนนี้อยู่บนเนินเขาพัลลาส(Pallas) ซึ่งสูงจากพื้นราบ 60-70 เมตร พื้นที่บนยอดเขาประมาณ 45,000 ตารางเมตร ตั้งแต่ประมาณศตวรรษที่ 14 ก่อน คริสตกาล (1,400 ปี ก่อน คริสตกาล) ก็มีการสร้างพระราชวังบนเนินแห่งนี้แล้ว โดยที่วิหารพาร์เธนอนที่เห็นเป็นซากอยู่ในปัจจุบันเป็นวิหารรุ่นที่ 3 ที่สร้างทับซ้อนบนรากฐานเดิมของวิหารรุ่นที่ 2 ก่อนหน้า วิหารรุ่นแรกนั้นสร้างเมื่อประมาณ 500 กว่าปี ก่อนคริสตกาล และได้พังทลายลงไป จึงได้มีการเริ่มสร้างรุ่นที่ 2 ขึ้นในปี 490 ก่อนคริสตกาล แต่เหมือนเคราะห์ซ้ำกรรมซัดเพราะได้ถูกกองทัพของพวกเปอร์เซียเผาทำลายไปอีกครั้งหนึ่ง ตั้งแต่ยังก่อสร้างไม่เสร็จดี   แต่ว่าชาวเอเธอส์ก็ยังไม่ละความพยายามในการสร้าง วิหารพาร์เธนอนจึงเริ่มก่อสร้างอีกครั้งเป็นรุ่นที่ 3  ประมาณช่วงปี 447 ก่อน ค.ศ. ซึ่งนับเวลาจนกระทั่งถึงตอนนี้ก็ ประมาณ 2,500 ปี เห็นจะได้


วิหารพาร์เธนอนถูกสร้างขึ้นด้วยหินอ่อน ขนาดยาวประมาณ 70 เมตร กว้าง 30 เมตร ด้านกว้างประกอบด้วยด้วยเสา 8 ต้น ด้านยาว 17 ต้น เสาแต่ละต้นสูง 10.5 เมตร ลักษณะของเสาเป็นลักษณะเฉพาะคือจะปล่องออกตรงกลางซึ่งเส้นผ่านศูนย์กลางเท่ากับ 2 เมตร และ ตรงปลายทั้งสองด้านเส้นผ่านศูนย์กลางเท่ากับ 1.5 เมตร โดยในการก่อสร้างเสาแต่ต้น ชาวเอเธนส์จะแบ่งเสาเป็นข้อๆ เหมือนเค๊ก แล้วมาวางซ้อนกัน 10 -12 ชั้น
อย่างที่ได้บอกไปแล้วว่าวิหารพาร์เธนอนที่เห็นอยู่ในปัจจุบันถูกสร้างขึ้นเป็นรุ่นที่ 3 โดยมันถูกสร้างเมื่อปี 447 ก่อน ค.ศ. และไปแล้วเสร็จในปี 438 ก่อน ค.ศ. แต่ก็ยังไม่เสร็จสมบูรณ์เหมือนตามที่ผู้สร้างตั้งใจไว้ จึงใช้เวลาอีก 5 ปีในการแกะสลักรูปปั้นเพื่อไปประดับ วิหารพาร์เธนอนอีก รวมระยะเวลาที่ใช้ทั้งหมด ก็ 14 ปี



ภาพสลักประดับทับหลังเหนือหัวเสาและหน้าบันไดนั้น เป็นภาพที่มีความประณีตเป็นเลิศ โดยภาพแต่ละภาพจะเป็นเรื่องราวของชัยชนะของชาวเอเธนส์ในสงครามต่างๆ ทั้งในสงครามที่เป็นเทพนิยาย และสงครามที่เกิดขึ้นจริง เช่นทางด้านทิศเหนือของ วิหารพาร์เธนอน เป็นสงครามระหว่างชาว เอเธนส์และทรอย (มีการมาทำเป็นหนังเรื่องทรอยที่นำแสดงโดย แบรด พิต) ซึ่งสงครามที่ว่าเกิดขึ้นในช่วง ศตวรรษที่ 16 ก่อน ค.ศ.
ส่วนด้านทิศใต้เป็นภาพสงครามระหว่าง เซนทอร์(สัตว์ในตำนาน มีลักษณะครึ่งคนครึ่งม้า) กับชาว ลาพิธ  ส่วนในด้านหน้าจั่วทิศตะวันออกเป็นภาพของกำเนิดของเทพีอธีนา ที่เกิดจากเศียรของมหาเทพอย่าง ซุส (Zeus) ส่วนหน้าจั่วด้านตะวันตกของ วิหารพาร์เธนอน เป็นภาพการชิงชัยระหว่าง โพไซดอน และ อธีนา โดยภาพมนด้านหน้าจั่วทั้งสองด้าน เป็นภาพที่ถูกทำขึ้นมาใหม่เพื่อทดแทนของเดิม ซึ่งภาพของจริงนั้น ท่านลอร์ดเอลจิน เอกอัครราชทูตอังกฤษประจำอาณาจักรไบแซนไทน์ระหว่างปี ค.ศ. 1799 1803 ได้นำไปอังกฤษโดยความยินยอมของสุลต่านแห่งคอนสแตติโนเปิล ซึ่งมีอำนาจเหนือ เอเธนส์ในขณะนั้นภายในห้องบูชาแห่ง วิหารพาร์เธนอน เคยมีรูปเทพีอธีนาขนาดมหึมาประดิษฐานอยู่ จากบันทึกประวัติศาสตร์ของพอซาเนียส และรูปจำลองเทพี อธีนาขนาดเล็ก ทำให้รู้ว่ารูปปั้นเทีอธีนานั้นประทับยืนบนแท่นสูงประมาณ 12 เมตร โครงทำจากไม้ ส่วนเนื้อหนังที่โผล่พ้นเสื้อผ้าออกมานั้นบุด้วยงาช้าง ส่วนผ้านั้นก็บุด้วยทองคำบริสุทธิ์ทีหนักกว่า 1,150 กรัม ส่วนที่ฐานของรูปปั้นก็สลักเป็นภาพตำนานกำเนิดแพนโดรา ซึ่งรูปปั้นอธีนานี้ก็หายสาปสูญไปจาก วิหารพาร์เธนอน ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 5 ขณะอยู่ภายใต้การยึดครองของอาณาจักรไบแซนไทน์ ปัจจุบันในห้องบูชาของ วิหารพาร์เธนอน เหลือแต่ฐานขนาด 4 x 8 เมตร ตรงกลางมีรูสี่เหลี่ยมสำหรับเสียบแกนรูปปั้นเท่านั้น
วิหารพาร์เธนอนอันเก่าแก่แห่งนี้ได้ยืนหยัดผ่านกระแสแห่งความเปลี่ยนแปลงมาหลายยุคหลายสมัย ผ่านร้อนผ่านหนาว สันติและสงคราม การบูชาและการฆ่าฟัน ความรุ่งเรืองและความเสื่อม การบูรณะและการบูรณะวิหารพาร์เธนอนในปี 2010ความพินาศ ตั้งแต่สงครามกับชาวเปอร์เซีย (ปี 480 ก่อน ค.ศ.) ซึ่งพาร์เธนอนรุ่นที่ 2 ถูกเผาพินาศ สงครามระหว่าง กรีกและโรมัน (ปี 86 ก่อน ค.ศ.) ซึ่งนักรบชาวเอเธนส์ถูกสังหารหมู่บน วิหารพาร์เธนอน
วิหารพาร์เธนอน ผ่านการเปลี่ยนแปลงความเชื่อทางศาสนาที่เปลี่ยนจาก การบูชาเทพเจ้าไปสู่โบสถ์คริสต์ศาสนา และในสมัยอาณาจักรไบแซนไทน์ วิหารพาร์เธนอน ได้ถูกเปลี่ยนเป็นป้อมปราการที่มั่นคงของพวกแฟรงค์และละติน และถูกเปลี่ยนเป็นสุเหร่าในช่วงยุคของพวกเติร์ก ในขณะที่บางส่วนของ วิหารพาร์เธนอน ก็ถูกเปลี่ยนเป็นคลังเก็บกระสุนปืนใหญ่ จนทำให้เกิดการระเบิดทำให้ตัวของ วิหารพาร์เธนอน ได้รับความเสียหายจนกลายเป็นซากปรักหักพัง ในปี 1687 ทั้งนี้การบูรณะวิหารพาร์เธนอนได้เริ่มทำตั้งแต่ปี 1841 และมาเสร็จสมบูรณ์เมื่อปี 1900
วิหารพาร์เธนอน ถูกบูรณะครั้งใหญ่ในปี ค.ศ. 2004 เนื่องมาจากที่ประเทศกรีซได้รับเลือกเป็นเจ้าจัดกีฬาโอลิมปิก ซึ่งมีพิธีเปิดที่วิหารพาร์เธนอน
ในปี ค.ศ. 1987 UNESCO ได้ประกาศให้ วิหารพาร์เธนอน เป็นมรดกโลก


เหตุผลที่ได้รับคัดเลือกเป็นมรดกโลก


แหล่งมรดกโลกอาโครโปลิสแห่งเอเธนส์ได้ลงทะเบียนเป็นมรดกโลกเมื่อปี พ.ศ. 2530 โดยมีเหตุผลตามเกณฑ์การพิจารณาคือ
(i) - เป็นตัวแทนซึ่งแสดงผลงานชิ้นเอกที่จัดทำขึ้นด้วยการสร้างสรรค์อันฉลาด
(ii) - เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลยิ่ง ผลักดันให้เกิดการพัฒนาสืบต่อมาในด้านการออกแบบทางสถาปัตยกรรม อนุสรณ์สถาน ประติมากรรม สวนและภูมิทัศน์ ตลอดจนการพัฒนาศิลปกรรมที่เกี่ยวข้อง หรือการพัฒนาการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งได้เกิดขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง หรือบนพื้นที่ใดๆของโลกซึ่งทรงไว้ซึ่งวัฒนธรรม
(iii) - เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว
(iv) - เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของประเภทของสิ่งก่อสร้างอันเป็นตัวแทนของการพัฒนาทางด้านวัฒนธรรม สังคม ศิลปกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรม ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ
(v) - มีความคิดหรือความเชื่อที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับเหตุการณ์ หรือมีความโดดเด่นยิ่งในประวัติศาสตร์


ที่ตั้งภูมิประเทศ: ประเทศกรีซ
 

กรีซ  Greece หรือเรียกอย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐเฮลเลนิก Hellenic Republic เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปยุโรป ตอนใต้สุดของคาบสมุทรบอลข่าน มีพรมแดนทางเหนือติดกับประเทศบัลแกเรีย มาซิโดเนีย และแอลเบเนีย มีพรมแดนทางตะวันออกติดกับประเทศตุรกี อยู่ติดทะเลอีเจียนทางด้านตะวันออก ติดทะเลไอโอเนียนและทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางด้านตะวันตกและใต้ กรีซนับว่าเป็นแหล่งอารยธรรมตะวันตกอันยิ่งใหญ่ และมีประวัติศาสตร์อันยาวนาน ซึ่งกรีซได้แผ่อิทธิพลไปยัง 3 ทวีป
ชาวกรีกเรียกประเทศตัวเองว่า Hellas ซึ่งภาษากรีกในปัจจุบันออกเสียง ว่า Ellas โดยในการพูดทั่วไปจะใช้คำว่า Ellada และมักจะเรียกตัวเองว่า Hellenes แม้กระทั่งในภาษาอังกฤษ ซึ่งคำภาษาอังกฤษ "Greece" มาจากชื่อละตินว่า Graecia หมายถึงพื้นที่ทางเหนือของกรีซในปัจจุบัน ซึ่งมีกลุ่มคนที่เรียกว่า Graikos อาศัยอยู่
ประเทศกรีซประกอบด้วยแผ่นดินใหญ่ในทางทิศใต้ไปจนถึงแหลมบอลข่านและเกาะมากมายกว่า 3,000 เกาะ รวมทั้งเกาะครีต (Vrete) เกาะโรด (Rhode) เกาะไคออส (Chios) เกาะเลสบอส (Lesbos) เกาะยูบีอา (Euboea) และหมู่เกาะโดเดคะนีส (Dodecanese) และพวกไซแคลดิกทางทะเลอีเจียน ที่เหมือนกับชาวกรีกบนหมู่เกาะไอโอเนียน กรีซมีแนวชายฝั่งทะเลยาว 15,000 กิโลเมตร และเส้นแบ่งเขตแดน ยาว 1,160 กิโลเมตร
ราวๆ 80% ของประเทศกรีซประกอบด้วยภูเขา และเนินเขา ด้วยเหตุนี้จึงทำให้กรีซเป็นประเทศหนึ่งในยุโรปที่มีภูเขามากที่สุด ทางตะวันตกของกรีซจะเป็นทะเลสาบและพื้นที่ชื้นแฉะพินดัส เป็นภูเขาทางตอนกลางซึ่งมีความสูงถึง 2,636 เมตร เมื่อพิจารณาดูแล้ว ภูเขาพินดัสอาจจะมีการขยายออกมาจากเทือกเขาดิแนริดได้ แนวเทือกเขาที่ต่อเนื่องกัน กลายเป็นแหลมเพโลพอนนีส เกาะคีทีรา (Kythera) และเกาะแอนติคีทีรา (Antikythera) พบที่จุดปลายของเกาะกรีก
ทางตอนกลางและทางตะวันตกของกรีซ เป็นที่สูงชัน มียอดเขาสูงที่แยกออก เป็นหุบเขาลึกมากมาย และมีลำธารระหว่างหุบเขาต่าง ๆ เช่น ช่องแคบ Meteora และ Vikos มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 รองจากแกรนด์แคนยอนในสหรัฐอเมริกา
ยอดเขาโอลิมปัสเป็นจุดที่สูงที่สุดของกรีซ คือ 2,919 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล ทางตอนเหนือก็ยังมีเทือกเขาสูง ๆ อีก อย่าง Rhodope ที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกของมาซิโดเนียและเทรซ พื้นที่นี้ถูกปกคลุมไปด้วย ป่าทึบเก่าแก่ขนาดใหญ่ เหมือนกับ Dadia ที่เป็นที่รู้จักกัน
ทางตะวันออกของกรีซเต็มไปด้วยทุ่งกว้างมากมาย คือตรงตอนกลางของมาซิโดเนียและเทรซ โวลอสและลาริสซา เป็น 2 เมืองใหญ่ ของทางตะวันออกของกรีซ
สภาพอากาศของกรีซ แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เทือกเขาแอลป์ และ Temperate แบบแรก ภูมิประเทศแบบฝนตกในฤดูหนาว แห้งแล้งในฤดูร้อน อุณหภูมิไม่ค่อยสูง อย่างไรก็ตามก็มีหิมะตกบางในกรุงเอเธนส์ หมู่เกาะซิคละดิส หรือเกาะครีตมีสภาพอากาศหนาว เทือกเขาแอลป์ก่อตัวมาจากทางตะวันตกของกรีซ สภาพอากาศแบบสุดท้ายก่อตัวจากทางตอนกลางและทางมาซิโดเนียตะวันออก เทรซ Xanthi และ Evros เหนือ มีอากาศหนาว ชื้น ในฤดูหนาว และ แห้งแล้งในฤดูร้อน เป็นสิ่งที่มีค่ามากสำหรับกรุงเอเธนส์ที่ ตั้งอยู่ระหว่างสภาพอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน กับเทือกเขาแอลป์ ดังนั้นชานเมืองทางตอนใต้จะมีสภาพอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน ในขณะที่ทางตอนเหนือมีสภาพอากาศแบบ เทือกเขาแอลป์
50% ของประเทศกรีซ ถูกปกคลุมไปด้วยป่า ที่มีพืชนานาชนิด จากเทือกเขาแอลป์ ป่าสนของทางทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทะเลรอบ ๆ ประเทศกรีซ มีแมวน้ำ เต่าทะเล และสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลที่หายากอาศัยอยู่ ในขณะที่ป่าของกรีซ เป็นที่บ้านหลังสุดท้ายของยุโรปตะวันตก ที่มีหมีสีน้ำตาล แมวป่า กวางโร แกะป่า สุนัขจิ้งจอก และหมูป่า


ความเป็นมาทางประวัติศาสตร์


ยุคโบราณในยุคสำริด 3,000-2,000 ปี ก่อนคริสต์ศักราช เป็นยุคที่อารยธรรมชนเผ่าไซแคลดิกและไมซีแนเอียนกำลังมีอิทธิพลรุ่งเรืองอยู่ในกรีซ แต่พอถึงศตวรรษที่ 11 ก่อนคริสตกาล อิทธิพลของวัฒนธรรมไซแคลดิกและไมซีแนเอียนก็ถึงกาลเสื่อมสลายลง เพราะถูกรุกรานโดยนักรบเผ่าดอเรียนที่รุกมาจากทางเหนือ อารยธรรมต่าง ๆ ในกรีซจึงเริ่มเข้าสู่ยุคมืด
ช่วงเวลา 800 ปีก่อนคริสตกาล เป็นช่วงเวลาที่อารยธรรมกรีซเฟื่องฟูขึ้นมาอีกครั้ง วัฒนธรรมและกิจการทหารของกรีซเจริญรุ่งเรืองมากที่สุด เมืองเอเธนส์ลัสปาต้าเป็นศูนย์กลางของอำนาจมหาอาณาจักรกรีซประกอบด้วยอิตาลีทางตอนใต้อันเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของอาณาจักรอันยิ่งใหญ่ กรีซย่างก้าวเข้าสู่ยุคคลาสสิกหรือยุคทอง ในยุคนี้เองนักปราชญ์ชื่อ เพเรอคลิส ผู้ทำให้วิหารพาร์เธนอนเป็นที่รู้จักของชาวโลก โซโฟคลิสได้เขียนมหากาพย์อีดิปุสขึ้น และโสคราติสหรือซาเครอทิส ได้เริ่มการสอนลูกศิษย์ชาวเอเธนส์ให้รู้จักวิชาตรรกวิทยาและหลักการของประชาธิปไตย ต่อมาไม่นานนักยุคทองของกรีซก็ถึงจุดเสื่อม แล้วกรีซก็เข้าสู่ยุคสงครามเปลโอปอนนีเซียน ซึ่งกองทหารอันเกรียงไกรของสปาร์ตาได้ยกกำลังเข้าบดขยี้ชาวเอเธนส์เสียจนย่อยยับ
ในขณะที่สปาร์ตากำลังรุกรานกรีซอย่างย่ามใจทางตอนเหนือ พระเจ้าฟิลิปแห่งอาณาจักรมาซิโดเนียกำลังไล่ตีเมืองเล็กเมืองน้อยรุกคืบเข้ามาใกล้กรีซทุกที แต่ทว่าความทะเยอทะยานที่จะเป็นผู้พิชิตในภูมิภาคนี้ของพระเจ้าฟิลิปก็ถูกบดบังรัศมีโดยโอรสของพระองค์เองคือ พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ผู้สามารถยาตราทัพไปถึงเอเชียไมเนอร์และอียิปต์ ซึ่งที่อียิปต์นี้เองพระองค์ได้รับการยกย่องให้เป็นฟาโรห์ ผู้สร้างเมืองอเล็กซานเดรีย พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชสามารถยกทัพไปถึงเปอร์เซียและดินแดนส่วนที่เป็นอินเดียและอัฟกานิสถานในปัจจุบัน ในรัชสมัยของอาณาจักรมาซิโดเนียเรียกกันว่า ยุคเฮลเลนิสติก (Hellenistic Period) เพราะยุคนี้มีการผสมผสานปรัชญาและวัฒนธรรมที่รุ่งเรืองของชนชั้นปกครองจนกลายเป็นวัฒนธรรมแบบใหม่ที่ศิวิไลซ์ยิ่งขึ้น หลังจากพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชสิ้นพระชนม์ เมื่อพระชนมายุ 33 ปีแล้ว มีกษัตริย์ปกครองกรีซสืบต่อมาอีก 3 รัชกาล
ครั้นถึงปีที่ 205 ก่อนคริสต์ศักราช อิทธิพลของโรมันแผ่ขยายเข้ารุกรานกรีซ และเมื่อถึงปี 146 ก่อนคริสตกาล กรีซกับมาซิโดเนียตกอยู่ใต้การปกครองของโรมัน หลังจากที่มีการแบ่งอาณาจักรโรมันเป็นอาณาจักรตะวันออกและตะวันตก กรีซได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรไบแซนไทน์ และเมื่อเกิดสงครามครูเสดขึ้น อิทธิพลของอาณาจักรไบแซนไทน์ก็เสื่อมถอยเพราะถูกรุกรานโดยชาวเวนิส คาตาลัน เจนัว แฟรงก์ และนอร์มัน
ยุคกลางในปี พ.ศ. 1996 (ค.ศ. 1453) กรุงคอนสแตนติโนเปิล เมืองหลวงของจักรวรรดิไบแซนไทน์ถูกพวกเติร์กยึดครอง และเมื่อถึงปี พ.ศ. 2043 (ค.ศ. 1500) ดินแดนของกรีซทั้งหมดก็ตกอยู่ใต้อำนาจของเติร์ก ดินแดนที่เป็นกรีซในปัจจุบันแต่ก่อนเป็นศูนย์กลางการค้าทางเรือของยุโรปตอนกลางและเป็นที่ชุนนุมนักปราชญ์กับศิลปินของโลก เพราะที่นี่เป็นหมู่บ้านกรีกที่มีประเพณีและวัฒนธรรมของกรีกออร์ทอดอกซ์ ในการทำสงครามเพื่อกู้เอกราชจากเติร์ก กรีซได้รับการสนับสนุนอย่างท่วมท้นจากนักคิด นักเขียน และนักปรัชญา เช่น ไบรอน แชลเลย์ และเกอเธ อย่างไรก็ตามการต่อสู้ที่ขาดเอกภาพของกรีซ ทำให้ฝรั่งเศส รัสเซีย และอังกฤษ ตัดสินใจเข้ามาแทรกแซง หลังจากกรีซได้รับเอกราชแล้ว กลุ่มอำนาจในยุโรปมีความเห็นว่ากรีซควรมีการปกครองระบบกษัตริย์จึงได้จัดการให้กษัตริย์ออตโตแห่งบาวาเรีย เป็นกษัตริย์ปกครองกรีซในปี พ.ศ. 2376 (ค.ศ. 1833) หลังจากนั้นกรีซก็มีกษัตริย์ขึ้นครองราชย์อีกหลายพระองค์ด้วยกัน จนกระทั่งถึงรัชสมัยของพระเจ้าจอร์จที่ 1 จึงได้รับพระราชทานกฎหมายรัฐธรรมนูญให้กรีซในปี พ.ศ. 2407 (ค.ศ. 1864) ทำให้กรีซมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ
ยุคใหม่ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 กองทัพกรีซอยู่ข้างฝ่ายสัมพันธมิตร และเข้ายึดครองเมืองเทรซ เมื่อสงครามโลกยุติ กรีซได้ส่งกองกำลังเข้าไปช่วยปลดปล่อยเมืองสเมอร์นาของตุรกี (ปัจจุบันคืออิซมีร์) ให้ได้รับอิสรภาพ เพราะเมืองนี้มีประชาชนชาวกรีกอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก กองกำลังกรีกถูกต่อต้านอย่างแข็งแกร่งจากกองทัพของอตาเติร์ก ซึ่งได้เข่นฆ่าชาวกรีกในเมืองนั้นเสียชีวิตลงเป็นจำนวนมาก ผลของสงครามนี้ทำให้มีการตกลงแลกเปลี่ยนพลเมืองของ 2 ประเทศกันในปี พ.ศ. 2466 (ค.ศ. 1923) ประชากรกรีกเพิ่มจำนวนประชากรมากขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะมีผู้อพยพชาวคริสเตียนมาอยู่ในกรีซมากถึง 1,300,000 คน ทำให้กรีซมีปัญหาด้านเศรษฐกิจตามมา คนเหล่านี้กระจายกันไปอยู่นอกเมือง ภายหลังมีการก่อตั้งสหภาพแรงงานต่าง ๆ ขึ้นในกลุ่มพวกอพยพที่อาศัยอยู่ตามหัวเมืองรอบนอก และในปี พ.ศ. 2479 (ค.ศ. 1936) พรรคคอมมิวนิสต์ในกรีซก็เติบโตและมีอิทธิพลมากขึ้นเรื่อย ๆ จากการสนับสนุนของประชาชนทั่วประเทศ
ปี พ.ศ. 2479 (ค.ศ. 1936) นายพลเมเตอซัส ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรี เขาเป็นผู้ปกครองประเทศที่นิยมการปกครองแบบเผด็จการ ถึงแม้ว่าจะได้เห็นความเป็นไปในชะตากรรมของพวกนาซีเยอรมนี แต่ตัวเขาเองกลับกระทำการต่าง ๆ ที่ทำให้เขาได้รับฉายาว่าเป็นภาพจำลองของอาณาจักรไรน์ในกรีซ นายพลเมเตอซัสทำการต่อต้านไม่ยอมให้เยอรมนีกับอิตาลีเดินทัพผ่านกรีซ ถึงแม้ว่ากลุ่มสัมพันธมิตรจะเข้าช่วยกรีซแต่กรีซก็ต้องตกเป็นของเยอรมนีในปี พ.ศ. 2484 (ค.ศ. 1941) เป็นผลให้เกิดภาวะข้าวยากหมากแพงขึ้น มีการเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาล เกิดความวุ่นวายขึ้นในประเทศที่มีทั้งฝ่ายสนับสนุนพรรคคอมมิวนิสต์และฝ่ายสนับสนุนสถาบันกษัตริย์ เป็นชนวนให้เกิดสงครามกลางเมืองนองเลือดขึ้นในกรีซ และยุติลงใน พ.ศ. 2492 (ค.ศ. 1949) โดยฝ่ายนิยมกษัตริย์อ้างชัยชนะ
ในช่วงเวลานั้นอเมริกากำลังเคร่งครัดในลัทธิทรูแมน รัฐบาลอเมริกาในขณะนั้น มีนโยบายให้เงินก้อนใหญ่สนับสนุนรัฐบาลที่ต่อต้านระบบคอมมิวนิสต์ แต่ความกลัวลัทธิคอมมิวนิสต์จะครองเมืองทำให้คณะทหารของกรีซทำการปฏิวัติยึดอำนาจจากรัฐบาลเมื่อปี พ.ศ. 2510 (ค.ศ. 1967) [1] กล่าวกันว่าการปฏิวัติในกรีซเป็นผลมาจากการแทรกแซงทางการเมืองของหน่วยงาน CIA ของสหรัฐอเมริกาที่เข้ามาปฏิบัติการในทวีปยุโรปกลุ่มทหารที่ครองอำนาจในกรัซทำตนมีอำนาจเหนือราษฎรและทำการกดขี่ข่มเหงประชาชน ยิ่งกว่านั้นคณะนายพลของทหารกรีซได้ทำการวางแผนลอบสังหารผู้นำของไซปรัสในขณะนั้น เป็นผลให้ตุรกีฉวยโอกาสเข้ารุกเข้ายึดครองตอนเหนือของไซปรัส ทำใหเหตุการณ์นี้เป็นข้อบาดหมางระหว่างกรีซกับตุรกีมาจนถึงทุกวันนี้
ในปี พ.ศ. 2524 (ค.ศ. 1981) กรีซเข้าเป็นสมาชิกสมาคมสหภาพยุโรป พรรคสังคมนิยม PASOK นำโดยนายแอนเดรียส์ ปาปันเดรโอ ชนะการเลือกตั้งได้เป็นนายกรัฐมนตรี รัฐบาลให้สัญญาว่าจะจัดการให้อเมริกาย้ายฐานทัพอากาศออกไปจากกรีซและกรีซจะถอนตัวจากการเป็นสมาชิกของนาโตแต่รัฐบาลทำไม่สำเร็จ สตรีชาวกรีซเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงประเพณีเรื่องสินสอดและเรียกร้องให้กฎหมายสนับสนุนการทำแท้งเสรีความไม่สงบในประเทศทำให้ปาปันเดรโอกับรัฐบาลของเขาเสียอำนาจการปกครองประเทศให้กับรัฐบาลผสมระหว่างพรรคอนุรักษ์นิยมกับพรรคคอมมิวนิสต์ในปี พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) การเลือกตั้งในกรีซเมื่อ พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990) พรรคอนุรักษ์นิยมได้ที่นั่งมากที่สุดและได้พยายามที่จะแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศแต่ไม่สำเร็จ การเลือกตั้งใหม่ใน พ.ศ. 2536 (ค.ศ. 1993) กรีซได้ปาปันเดรโอผู้นำเฒ่าของพรรคเสรีนิยมกลับมาครองอำนาจกลับมาเป็นรัฐบาลอีกครั้ง ท่านผู้นำถึงแก่อนิจกรรมใน พ.ศ. 2539 (ค.ศ. 1996) หลังจากที่ท่านลาออกจากตำแหน่งทางการเมืองกรีซได้ผู้นำคนใหม่ชื่อ คอสทาส สมิทิส ต่อมากรีซกับตุรกีขัดแย้งกันอย่างหนักจนใกล้จะระเบิดสงครามเมื่อผู้สื่อข่าวของตุรกีได้นำธงชาติกรีซมาย่ำยีเล่น สมิทิสได้รับการเลือกตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรีกรีซอีกครั้ง รัฐบาลใหม่ให้สัญญากับประชาชนว่าจะเร่งการนำประเทศเข้าเป็นสมาชิกกลุ่มอียู นายกรัฐมนตรีเป็นเพื่อนร่วมชั้นกับรัฐมนตรีโทนี แบลร์ของอังกฤษตั้งแต่สมิทิสมีอำนาจในการบริหารประเทศเขามีนโยบายเห็นด้วยกับกลุ่มฝ่ายค้านพรรคประชาธิปไตยใหม่แทบทุกเรื่อง

เทพีอธีนา


เทพีอธีนา หนึ่งในสิบสองเทพแห่งโอลิมปัส เป็นเทพีแห่งปัญญา เนื่องจากเกิดมาจากส่วนหัวของ ซูส ประมุขแห่งเหล่าทวยเทพ ในขณะที่กำลังประชุมเหล่าเทพที่เทือกเขาโอลิมปัส เมื่อจู่ ๆ ซูสเกิดปวดศีรษะอย่างรุนแรง จึงได้ให้เฮเฟสตัส เทพแห่งการตีเหล็กใช้ขวานผ่าศีรษะออก ปรากฏเป็นอธีนาที่สวมชุดเกราะพร้อมหอกกระโดดออกมา เทพีอธีนาเป็นธิดาของเทพีเมทิส ซึ่งถูกซูสกลืนเข้าไปในท้องตั้งแต่ยังมีครรภ์แก่ เนื่องจากคำทำนายที่ว่าบุตรที่เกิดจากนางจะเป็นผู้โค่นบัลลังก์ของซูส แต่แม้ว่าอธีนาจะถือกำเนิดมาพร้อมกับคำทำนายนั้น พระนางก็เป็นหนึ่งในลูกรักของซูส ว่ากันว่าฮีราอิจฉาอธีนาที่ถือตัวว่าเป็นผู้กำเนิดมาจากซูสโดยตรง และนอกจากอธีนาจะเป็นเทพีแห่งปัญญาแล้ว ยังเชื่อกันว่าพระนางเป็นเทพีแห่งสงครามด้วย เนื่องจากเทวรูปของพระนางมักปรากฏเป็นรูปผู้หญิงสวมชุดเกราะ ถือโล่ห์และหอกที่มือซ้าย และถือไนกี้ เทพีแห่งชัยชนะที่มือขวา โดยที่ชื่อกรุงเอเธนส์ เมืองหลวงของกรีซ ก็มีที่มาจากพระนามของนาง ชื่อเต็มของอธีนาคือ พัลลัสอธีนา (Pallas Athena) ซึ่งชื่อพัลลัส มาจากเพื่อนมนุษย์ของอธีนาซึ่งเธอพลั้งมือสังหารไปขณะเล่นด้วยกัน จึงได้นำชื่อของพัลลัสมาใส่นำหน้าเพื่อเป็นที่ระลึก อธีนาเป็นตัวแทนของสงครามที่เอาชนะด้วยกลยุทธหรือความถูกต้อง ซึ่งต่างจากแอรีสที่เป็นเทพสงครามที่ใช้กำลังมากกว่า
นอกจากนี้ อธีนา ยังเป็นหนึ่งในสามเทพีพรหมจรรย์ด้วย ซึ่งประกอบด้วย พระนาง, อาร์เทมีส เทพีแห่งดวงจันทร์ และเฮสเทีย เทพีแห่งครัวเรือน



รูปแบบศิลปะและองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม : กรีก
เมื่อประมาณ 3000 ปีก่อนคริสตศักราช กลุ่มชนรุ่นแรกได้อพยพเข้าสู่คาบสมุทรกรีก สถาปัตยกรรมของกลุ่มชนเหล่านี้มีลักษณะเรียบง่าย ไม่มีอะไรน่าสนใจเมื่อเทียบกับ ชาวกรีกยุคคลาสสิก ... พวกเขาก่อสร้างบ้านเรือนในหลากหลายรูปแบบ ทั้งรูปทรงกลม รูปทรงไข่ รูปทรงสี่เหลี่ยม วัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างมักทำมาจากโคลน โดยปราศจากการใช้ปูนในการก่อสร้าง ภายในบ้านส่วนใหญ่จะมีเพียงแค่ห้องเดียว
ชาวกรีกโบราณมีวัฒนธรรมที่ยิ่งใหญ่มานานกว่าพันปีในครีต สถาปัตยกรรมมิโนอันมีให้เห็นกันมากในรูปแบบที่อยู่อาศัย พวกเขาไม่นิยมสร้างวัดและสถานที่สาธารณะ ไม่เหมือนกับชนกลุ่มโบราณ ซึ่งในบ้านเรือนของพวกเขานั้นมักจะสร้างให้มีหลายห้องและมีมากกว่า 1 ชั้น การกั้นห้องจะใช้เสาเป็นตัวกั้น ลักษณะภายในบ้านจะค่อนข้างเปิดโล่ง บันไดถือว่าเป็นสิ่งสำคัญในบ้าน จากนี้ไปจะเป็นสถาปัตยกรรมในช่วงกรีกโบราณ
สถาปัตยกรรมกรีกยุคคลาสสิคที่สำคัญ มีแตกต่างกัน 3 ประเภทที่พวกเราคงเคยได้ยินได้เห็นกันมาบ้างแล้วจากตำราเรียนสมัยมัธยม นั่นก็คือ สถาปัตยกรรมแบบ Doric, Ionic, and Corinthian ซึ่งสถาปัตยกรรมแบบ Corinthian นั้นจะไม่ค่อยเป็นที่นิยมกว้างขวางเท่ากับสถาปัตยกรรมแบบ Doric, Ionic เพราะว่าสถาปัตยกรรมแบบ Corinthian นั้นมีความสลับซับซ้อนและมีรายละเอียดเยอะมาก
สถาปัตยกรรมแบบ Doric เป็นที่รู้จักเพราะชาวสปาตันนิยมใช้ มันสร้างขึ้นจากด้ามไม้ซึ่งภายหลังกลายเป็นหิน ตอนบนของด้ามไม้จะมีบุที่มีบล็อคไม้ทรงสี่เหลี่ยมอยู่ เสาค้ำขื่อที่เรียกว่า architrave
เมื่อพูดถึงวัดกรีก เราจำเป็นต้องรู้ว่าความเชื่อทางศาสนาของชาวกรีกนั้นไม่เหมือนชาวคริสเตียน ประเด็นแรก ชาวกรีกเชื่อว่าเทพเจ้าของพวกเขามีธรรมชาติที่เหมือนมนุษย์ธรรมดาทั่วไป เพียงแต่ว่าเทพเจ้าเหล่านั้นจะพิเศษกว่าทางด้านความเฉลียวฉลาดและความแข็งแกร่ง ประเด็นที่สอง ชาวกรีกเชื่อว่าวัด โบสถ์ของพวกเขาคือที่อยู่อาศัยของเทพเจ้าที่พวกเขาศรัทธา ดังนั้นสถานที่เหล่านี้จึงต้องมีความสวยงามกว่าบ้านเรือนทั่วไป ประเด็นต่อมา ชาวกรีกไม่ได้รวมตัวกันเพื่อสรรเสริญพระเจ้าในวัดหรือโบสถ์ของพวกเขา เหมือนอย่างคริสตศาสนนิกชนประเด็นสุดท้าย การบูชายัญและการบวงสรวง ถือเป็นคำสั่งของเทพเจ้า ดังนั้นทุกวัดหรือโบสถ์จะมีแท่นบูชาอยู่บริเวณชานวัดเพื่อจัดพิธีกรรม
วิหารพาร์เธนอน  สร้างเพื่อเป็นศาสนสถานบูชาเทพีเอเธนาหรือเทพีแห่งปัญญา ความรอบรู้ ในศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสต์ศักราช เป็นสิ่งก่อสร้างสถาปัตยกรรทกรีกโบราณที่มีชื่อเสียงที่สุด แสดงให้เห็นถึงความเฉลียวฉลาดของสถาปนิกในสมัยนั้นและถือได้ว่าเป็นหนึ่งในสิ่งก่อสร้างที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก มีขนาดกว้าง 101.4 ฟุต หรือ 30.9 เมตร และ ยาว 228.0 ฟุต หรือ 69.5 เมตร  คำว่า พาร์เธนอน นั้นน่าจะมาจากประติมากรรมที่เคยตั้งอยู่ภายในวิหาร คือ Athena Parthenos ซึ่งมีความหมายว่า เทพีอันบริสุทธิ์


แหล่งท่องเที่ยวที่ใกล้เคียง ขอขอบคุณข้อมูลจาก jidatravel.com


จุดเริ่มต้นของการเที่ยวประเทศกรีซก็ต้องเป็นเมืองหลวงคือกรุงเอเธนส์ (Athens) เมื่อไปถึงกรุงเอเธนส์ ทุกคนก็คงอยากเห็นวิหารพาร์เธนอน (Parthenon) อันยิ่งใหญ่ซึ่งตั้งอยู่บนเนอนเขาอะโคโปลิส (Acropolis) ใจกลางเมือง
อะโครโพลิส (Acropolis) อะโครโพลิส (Acropolis) คือ ป้อมปราการที่อยู่บนเทือกเขาสูง มีรากศัพท์คือ Acro มาจาก Akros แปลว่าสูง และ Polis แปลว่าเมือง ซึ่งมีอยู่หลายจุดในประเทศกรีซ โดยทั่วไปจะมีวิหารสำหรับเทพผู้พิทักษ์เมือง อะโครโพลิสที่มีชื่อเสียงที่สุดคือ อะโครโพลิสแห่งเอเธนส์ ซึ่งมีวิหารสามแห่ง คือ วิหารพาร์เทนอน(Parthenon) วิหารอิเรกเทียม (Erechtheum) และมีโรงละครอีกสองแห่งคือ โรงละครเฮโร เดส อัตติกัส (Theatre of Atticus) และโรงละครไดโอนีซัส (Theatre of Dionysus)
วิหารโอลิมเปี้ยนซุส (Temple of the Olypian Zeus)  ตัวอาคารสร้างขึ้นเมื่อ 700 ปี ที่แล้ว ซากที่เหลือนี้ถูกทิ้งอยู่ระเกะระกะจนยากที่จะจินตนาการไปถึงว่าครั้งหนึ่ง ที่นี่คือสถานสักการะบูชาที่มีความสำคัญมากกว่าวิหารกรีกอื่นใดทั้งหมดใน สมัยนั้น จนเป็นสาเหตุให้อริสโตเติล ถือว่ายิ่งใหญ่เท่าเทียมกับพีระมิดแห่งอิยิปต์ ปัจจุบัน มีเสาแบบโครินเธียนเหลืออยู่เพียง 15 ต้น จากของดั้งเดิมทั้งหมดที่มีอยู่ 104 ต้น
เมืองเก่าพลาก้า (PLAKA) ที่ในสมัยโบราณรู้จักกันในนามดินแดนแห่งเทพเจ้า (NEIGHBOURHOOD OF THE GODS)พลาก้าเป็นเมืองเก่าที่ถูกอนุรักษ์ไว้ให้ เป็นถนนคนเดินท่านสามารถเดินไปตามถนนแคบๆ มีซอกซอยมากมายเหมือนเขาวงกตบรรยากาศรอบด้านของพลาก้าจะทำให้ท่านย้อน ระลึกไปถึงเอเธนส์ในอดีตบ้านเรือนหลังเล็กๆ ที่ปลูกติดกันพร้อมบัลโคนี (BALCONY) ที่มีเหล็กดัดสวยงามในสไตล์นีโอคลาสิค พร้อม ดอกไม้คละสี ท่านจะเห็นสิ่งก่อสร้างเล็กๆโบสถ์ ยุคไบเซนไทน์มหาวิทยาลัยเก่า บางส่วนของประตูและกำแพงโบราณที่ยังเหลืออยู่สองฟาก ทางถนนแคบในพลาก้าท่านจะสนุกกับการช้อปปิ้ง มีร้านค้าของที่ระลึกจากกรีซมากมายพร้อมผลิตภัณฑ์ที่ทำจากน้ำมันมะกอก(ผลผลิตที่ มีชื่อเสียงที่สุดของกรีซ) อาทิสบู่ ครีมทาผิว ครีมสระ/นวดผม เครื่องเงินและทองที่เป็นลวดลายกรีกโบราณ และงานหัตถกรรมต่างๆ อาทิ เครื่องปั้นดินเผารูปปั้นแกะสลักต่างๆ ภาพวาดและอื่นๆ มากมายจากย่านนี้ 
อาคาร National Academy of Athens แปลเป็นไทยได้ว่าราชบัณฑิตยสภาแห่งกรุงเอเธนส์ สร้างในไสตล์นีโอคลาสสิก หัวเสาแบบไอออนิก ด้านหน้ามีรูปปั้นนักปรัชญากรีกโบราณเพลโต้และอริสโตเติ้ลนั่งอยู่คนละฝั่ง ด้านหลังบนหัวเสาเป็นรูปปั้นเทพเจ้ากรีก องค์นี้คือเทพอพอลโล อีกฝั่งเป็นเทพีอะธีนาในชุดนักรบถือหอกและโล่
สนามกีฬาโอลิมปิก (Olimpiakos stadium) สร้างด้วยหินอ่อนสีขาวรูปเกือกม้าที่สร้างโดยจักพรรดิเฮรอด อัตติคุส ในปี ค.ศ.143 และปฏิสังขรณ์ใหม่หมดในปี ค.ศ.1896 เพื่อใช้เป็นสถานที่เปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกยุคใหม่ที่เริ่มขึ้นเป็นครั้งแรกที่เอเธนส์ในปีนั้น สนามกีฬานี้สร้างขึ้นตามแบบสนามกีฬาโบราณและสร้างขึ้น ณ ตำแหน่งที่ตั้งเดิมของสนามที่สร้างขึ้นเมื่อกว่า 2 พันปีก่อน สังเกตว่าสนามกีฬาเป็นรูปตัวยู เอาไว้ใช้แข่งพวกกรีฑาเป็นหลัก ไม่เหมือนสนามกีฬายุคปัจจุบันซึ่งจริง ๆ ก็คือสนามฟุตบอล
จตุรัสซินตักมา (Sintagmar Square) ซึ่งเป็นที่ตั้งของอาคารที่ทำการรัฐบาลและอาคารรัฐสภา ที่น่าสนใจคือทุก ๆ ชั่วโมงเขาจะมีการเปลี่ยนการ์ด ชุดแต่งกายและท่าทางตอนเปลี่ยนการ์ดนี่น่าดูมาก

ของที่ระลึก

ร้านขายของที่ระลึก - สินค้าที่ขาย ก็จะเป็นพวกผลิตภัณฑ์จากมะกอก เพราะมะกอก มันเป็นตำนานของที่นี่นะค่ะ ต้องเข้าใจ มีสารพัด ทั้งน้ำมันมะกอก สบู่มะกอก ครีมบำรุงผิวสูตรมะกอก ฯลฯ
นอกจากนี้ ก็ยังมีฟองน้ำคุณภาพดี พวกขนมกรีก รูปปั้น รูปหล่อ ตระกูลเทพต่าง ๆ ของกรีก สินค้าที่เป็นที่นิยมอีกอย่างก็คือ พวกตระกูลเครื่องประดับต่าง ๆ หินประดับขนม สุรา อาหารแห้ง ภาพเขียน ภาพวาด ภาพพิมพ์ ...